Blockchain คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

โดย Duangthida Thongterm

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการเงินการธนาคารนั้นได้มีการพัฒนาและปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดจากการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ที่มีปริมาณมากขึ้น หลากหลายขึ้น และซับซ้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนธนาคารและสถาบันทางการเงินต่างๆ เริ่มจะมีการปรับตัวในการทำธุรกรรมในรูปแบบใหม่ๆ หรือการให้บริการทางการเงินบนโลกออนไลน์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดผ่านการนำเทคโนโลยีมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Machine Learning การนำ AI มาช่วยในบริการต่างๆ การอ่านข้อมูลผ่านภาพถ่าย (OCR) หรือเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยเฉพาะในปี 2564 ที่เราได้เห็นธนาคารและสถาบันการเงินก่อตั้งบริษัทและธุรกิจใหม่ๆ กับคำว่าบล็อกเชนมาไม่เว้นแต่ละเดือน  

บล็อกเชน คืออะไร

บล็อกเชน (Blockchain) คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีเกี่ยวกับธุรกรรมออนไลน์ ที่รักษาการเก็บและบันทึกข้อมูลในรูปแบบ “ฐานข้อมูล” แล้วแชร์ไปเก็บในระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน โดยสร้างระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ด้วยการเข้ารหัสและการพิสูจน์ Digital Signature (ลายเซ็นดิจิทัล) ข้อมูลใหม่ๆ จะถูกเก็บโดยการสร้าง “บล็อก” ใหม่ และบล็อกนั้นจะไปอยู่ในตำแหน่งที่ต่อจากบล็อกล่าสุด จึงได้ชื่อว่า Blockchain นั่นเอง  

Blockchain ไม่เพียงแค่ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมต่างๆ อย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน ในประเทศไทย บล็อกเชนถูกนำไปใช้ในหลายๆ อุตสาหกรรมบ้างแล้ว อาทิ อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่วงการอีสปอร์ต  

บล็อกเชน (Blockchain) สำคัญอย่างไร  

การทำธุรกรรมออนไลน์ต้องอาศัยความเชื่อมั่น ทำให้มี “คนกลาง” ที่น่าเชื่อถือเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อรับรองความน่าเชื่อถือของข้อมูล แต่ Blockchain  เป็นเทคโนโลยีที่ให้ความปลอดภัยโดยไม่ต้องผ่านคนกลางอีกต่อไป จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการเก็บข้อมูล  

Blockchain สร้างขึ้นมาเพื่อตัดระบบตัวกลางที่เคยทำหน้าที่เป็นพยานยืนยันการทำธุรกรรม โดย Blockchain จะสร้างระบบมาเก็บข้อมูลที่เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ ซึ่งจะเก็บไว้ทุกขั้นตอนการเคลื่อนไหว และข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ปรากฏคือความจริงที่ไม่ถูกแก้ไข และไม่สามารถทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตนได้ นอกจากนี้ ทุกข้อมูลที่ถูกส่งเข้าไปใน Blockchain จะคงอยู่ตลอด จะไม่สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลได้  และที่สำคัญยังมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้อีกด้วย  

บทบาทอื่นของ บล็อกเชน   

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมทางการเงินดูเหมือนจะเป็นผู้นำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้มากที่สุด การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ทำให้สามารถตัดคนกลางสำหรับทำธุรกิจต่างๆ ออกไปได้ เชื่อว่าอนาคตบล็อกเชนจะมียอดการใช้งานที่สูงขึ้น จะสามารถนำไปพัฒนาและถูกนำไปประยุกต์ในธุรกิจหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เมื่อตัดตัวกลางออกไปเราสามารถใช้บล็อกเชนในการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน การทำธุรกรรมต่างๆ หรือการเอาสัญญาหรือข้อมูลบางอย่างมาเก็บไว้ในบล็อกเชน เพื่อช่วยลดขั้นตอนและกระบวนการบางส่วนที่อาศัยตัวกลาง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของบริการทางการเงินต่างๆ  ทําให้นอกจากภาคเอกชนแล้ว ทางภาครัฐเองก็อาจจะมีการนําเทคโนโลยี Blockchain  มาใช้ในอนาคตบ้านเราคงต้องรอติดตามกันต่อไป 

form test 2

test unique and not unique grid question

1
2
3
question 1
question 2
question 3
1
2
3
question 1
question 2
question 3
scroll top iconBack to top