อัปเดต! แนวทางการกำกับดูแล ICO ในไทยและต่างประเทศปี 2023

โดย Kubix

รู้ก่อนดีกว่า! แนวทางการกำกับดูแล ICO ปี 2023 จากทั่วโลก

การเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการระดมทุน หรือ การลงทุน ICO ถือเป็นหนึ่งในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่น่าจับตามอง ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ การกำกับดูแล ICO เองก็มีการเปลี่ยนแปลงที่นักลงทุนต้องจับตามองอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนการลงทุนที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับปี 2023 นี้ การกำกับดูแล ICO ทั่วโลกเองก็มีการอัปเดตเงื่อนไขที่น่าสนใจในหลากหลายด้านเช่นกัน หากใครต้องการเริ่มต้นลงทุน ICO ในปี 2023 นี้ หรือจะเป็นนักลงทุนที่ก้าวเข้าสู่โลกของ ICO แล้ว มาดูแนวทางการกำกับดูแล ICO จากทั่วโลกที่นำมาฝากในวันนี้ เพื่อเป็นการเตรียมตัวและเริ่มต้นวางแผนการลงทุนที่เหมาะสมกัน

ทำไมการลงทุน ICO ต้องมีการกำกับดูแล?

การลงทุน ICO เป็นการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลบนเทคโนโลยีบล็อกเชนรูปแบบใหม่ที่สร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมกับโอกาสรับผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลก็มาพร้อมกับความเสี่ยงในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นจากความผันผวนทางราคา ความต้องการในตลาด ไปจนถึงความน่าเชื่อถือของผู้เริ่มต้นโครงการ ICO

ดังนั้น เพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถเริ่มต้นลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทนี้ได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น การมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง ‘สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์’ ของแต่ละประเทศคอยให้การกำกับดูแล ICO อยู่จึงเป็นเรื่องสำคัญ

โดยผู้กำกับดูแล ICO จะมีหน้าที่ช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยนอกเหนือจากการลงทุน เช่น ความน่าเชื่อถือของกิจการและผู้ออกโครงการ ICO ไปจนถึงสภาพคล่องและโอกาสเติบโตทางธุรกิจในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

นอกจากนี้ ผู้กำกับดูแล ICO ยังเป็นคนตรวจสอบข้อมูล พร้อมอนุมัติเอกสารที่รวบรวมข้อมูลรอบด้านให้นักลงทุนพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุน ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยสำคัญในการลดความเสี่ยงในการลงทุนได้

แนวทางการกำกับดูแล ICO จากทั่วโลกที่น่าสนใจ

เช่นเดียวกับการลงทุนทุกประเภท การลงทุน ICO เองก็มีการกำกับดูแลที่แตกต่างกันไปตามกฎหมายและเงื่อนไขของแต่ละประเทศเช่นกัน

สหรัฐอเมริกาได้มีการออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการลงทุน ICO มาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็ได้มีการกำหนดในการลงทุน ICO อยู่ภายใต้กฎหมายแลกเปลี่ยนและต้องได้รับการกำกับดูแลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (SEC) นอกจากนี้ หากการลงทุน ICO ไม่ผ่าน Howey Test ซึ่งเป็นการทดสอบทางกฎหมายที่ใช้ในการกำหนด ‘หลักทรัพย์’ ก็จะไม่สามารถเปิดระดมทุน ICO ได้

ในสิงคโปร์และฮ่องกงเองก็ได้ออกกฎหมายและมีการกำกับดูแล ICO เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2019 สิงคโปร์ได้มีการเปิดตัวโครงการ Payment Services Act เพื่อควบคุมธุรกรรมดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือมากขึ้น

อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศญี่ปุ่นแล้ว การลงทุน ICO ถือเป็นเอกสารเปลี่ยนมือที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (ERTRs) ที่ไม่ต้องถูกควบคุมโดย Payment Services Act แต่หากออกเป็น Utility Token ผู้ออกจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอเรนซีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

สำหรับการลงทุน ICO ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยอรมนี จำเป็นที่ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณาว่า ICO ที่เสนอเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ โดยหากได้รับการพิจารณาเป็นหลักทรัพย์ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายหลักทรัพย์

อย่างไรก็ดี บางประเทศก็มาพร้อมกับข้อยกเว้นการลงทุน ICO ที่แตกต่างกันไป เช่น การลงทุน ICO ในสหภาพยุโรปจะอยู่ภายใต้ข้อบังคับด้านบริการทางการเงินของสหภาพยุโรป ในขณะที่การลงทุน ICO จะจำกัดการลงทุนให้อยู่ในกลุ่มนักลงทุนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดเท่านั้น

นอกจากนี้ การลงทุน ICO ในรัสเซียเองก็มีข้อบังคับที่เข้มงวด ตั้งแต่ธุรกิจที่สามารถออก ICO ได้ไปจนถึงนักลงทุนที่สามารถเข้ามาซื้อขาย ICO ได้

อย่างไรก็ดี จีนและเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลขนาดใหญ่ของโลกกลับประเทศที่แบนการลงทุน ICO เพื่อเป็นการปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งจนส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาดลงทุน อีกทั้งยังแบนการลงทุนดังกล่าวยังมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะฟองสบู่แตกอีกด้วย

ลงทุน ICO ในไทยได้หรือไม่?

ในประเทศไทย นักลงทุนสามารถลงทุน ICO ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ภายใต้พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดยผู้ออกโทเคนดิจิทัลสำหรับ ICO จะต้องได้รับการอนุญาตจากก.ล.ต. ตลอดจนมีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอต่อผู้ลงทุน ไปจนถึงต้องเสนอขายผ่าน ICO Portal ที่ได้รับการรับรองจากก.ล.ต.

โดยที่ผ่านมา นักลงทุนไทยสามารถเริ่มต้นลงทุน ICO ได้จากโครงการ DESTINY TOKEN ที่ออกเหรียญเพื่อเป็นการระดมทุนในโครงการภาพยนตร์บุพเพสันนิวาส ๒ โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนสูงถึง 2.99%* ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการดูแลโดย ICO Portal อย่าง Kubix นั่นเอง

แนวทางการกำกับดูแลการลงทุน ICO ในไทย

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ทางก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ “โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้” หรือ “utility token พร้อมใช้” เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลการลงทุน ICO ในหลากหลายด้าน เช่น มีการเปิดเผยข้อมูลผู้ออกโทเคนดิจิทัลทั้งก่อนและหลังเสนอขาย การกำหนดกฎเกณฑ์ให้กับแพลตฟอร์มซื้อขาย ไปจนถึงการจัดสรรโทเคนที่เป็นในสัดส่วนที่เป็นธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น

สำหรับในวันที่ 7 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา การกำกับดูแล ICO ในไทยได้มีการอัปเดตในเรื่องของการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขาย Investment Token ด้วยจุดประสงค์ที่จะเพิ่มการระดมทุนและปรับหลักเกณฑ์การชำระภาษีให้เป็นแบบเดียวกับภาษีหลักทรัพย์ ทำให้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนหน้าใหม่และผู้ลงทุนใน ICO เดิมอยู่เป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานการกำกับดูแลที่ส่งผลกระทบด้านบวกกับทุกฝ่าย

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากรายละเอียดทั้งหมดที่นำมาฝากนี้แล้ว นักลงทุนยังควรติดตามการกำกับดูแล ICO ในไทยและทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการศึกษาเงื่อนไขการสร้างผลตอบ ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนรับมือเพื่อสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

ดังนั้น เพื่อไม่เป็นการพลาดทุกความเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อการลงทุน ICO อย่าลืมติดตามการอัปเดตการกำกับดูแลการลงทุน ICO จากทั่วโลกกับ Kubix เอาไว้!

scroll top iconBack to top