ทำความรู้จัก blockchain มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

โดย Kubix

Blockchain มีกี่ประเภท? ทำความรู้จักกันให้ดี ก่อนเลือกใช้งาน

ในทุกวันนี้ การนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้งาน ถือเป็นตัวช่วยในการป้องกันข้อมูลและเพิ่มความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเราหยิบ blockchain เข้ามาใช้งานได้เหมาะสมกับความต้องการของเรานั่นเอง ซึ่งคำถามที่ว่า blockchain มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร และควรจะต้องเลือกใช้งานอย่างไรให้ตอบโจทย์กับความต้องการของคุณ วันนี้เรามาไขคำตอบไปด้วยกัน

จุดเริ่มต้นของบล็อกเชน

ก่อนจะไปดูว่า blockchain มีกี่ประเภทนั้น เราต้องมาทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นของ blockchain กันแบบย่อ ๆ ก่อนว่าบล็อกเชนเริ่มต้นขึ้นมาได้อย่างไร

บล็อกเชนเริ่มต้นขึ้นมาในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่มีการจดสิทธิบัตรต้นไม้ Merkle ที่เป็นโครงสร้างวิทยาการคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลด้วยการเชื่อมโยงบล็อกเข้าด้วยกันโดยใช้รหัส และในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ก็ได้มีการพัฒนาและเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้ดีมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนี้ ยังมีการพัฒนาในด้านของรูปแบบของบล็อกเชนให้ตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้น

Blockchain มีกี่ประเภท

มาถึงข้อมูลที่ว่า blockchain มีกี่ประเภทกันแล้ว โดยทั่วไป บล็อกเชนมีทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน บางแห่งก็ว่ามี 3 ประเภท ซึ่งทั้ง 4 ประเภทนั้น มีทั้ง Public Blockchain, Private Blockchain, Consortium Blockchain และ Hybrid Blockchain นั่นเอง

Public Blockchain

Public Blockchain หรือ เครือข่ายบล็อกเชนแบบเปิดสาธารณะ เป็นบล็อกเชนที่เป็น open network ทุกคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมได้ ทั้งในด้านของการอ่าน แก้ไข และตรวจสอบความถูกต้อง ส่วนใหญ่มักใช้บล็อกเชนสาธารณะในการแลกเปลี่ยนและขุดสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ 

  • ข้อดีของ Public Blockchain
    • เป็นอิสระจากองค์กร
    • ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์เอง สามารถเช่าและจ่ายตามที่ใช้งานจริง
    • ความโปร่งใสของเครือข่าย ตราบใดที่ผู้ใช้ปฏิบัติตามโปรโตคอลและวิธีการรักษาความปลอดภัยอย่างพิถีพิถัน บล็อกเชนสาธารณะส่วนใหญ่ก็จะปลอดภัย
  • ข้อเสียของ Public Blockchain
    • ช้าและสิ้นเปลือง เพราะมีการรับส่งข้อมูลจากทั่วทุกมุมโลก
    • ข้อมูลบน Public Blockchain จะเป็นสาธารณะ เปิดเผยต่อสาธารณะชน ไม่มีความเป็นส่วนตัว

Private Blockchain

Private Blockchain หรือ เครือข่ายบล็อกเชนแบบปิด เป็นบล็อกเชนที่สามารถเข้าร่วมได้เฉพาะบุคคลที่ได้รับคำเชิญหรือได้รับการอนุญาตเท่านั้น โดยจะมีการกระจายศูนย์เพียงบางส่วน เหมาะกับการใช้งานแบบองค์กร หรือธุรกิจที่ต้องการใช้บล็อกเชนสำหรับงานภายในเท่านั้น

  • ข้อดีของ Private Blockchain
    • สะดวก รวดเร็ว
    • ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นความลับ
    • ควบคุมและกำหนดระดับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล ความปลอดภัย การอนุญาต ได้
  • ข้อเสียของ Private Blockchain
    • ไม่มีการกระจายอำนาจ มีผู้มีอำนาจเพียงคนเดียวคือผู้ที่ดูแลเครือข่าย

Consortium Blockchain

Consortium Blockchain เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่เป็นการนำข้อดีของ Public Blockchain กับ Private Blockchain มารวมดัน โดยมีองค์กรทำหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลบล็อกเชน และกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล โดยมีการใช้งานร่วมกันในหลายๆ องค์กรในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อสร้างความร่วมมือ และได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

  • ข้อดีของ Consortium Blockchain
    • ข้อมูลยังมีความเป็นส่วนตัว ไม่หาย หรือถูกแก้ไขดัดแปลงได้ง่าย
    • ไม่ต้องแบกรับต้นทุนไว้แต่เพียงผู้เดียว
    • สามารถควบคุมและกำหนดระดับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล ความปลอดภัย การอนุญาต ได้
    • มีความปลอดภัย
  • ข้อเสียของ Consortium Blockchain
    • ไม่คล่องตัวในการปรับปรุงเงื่อนไขการใช้งาน เนื่องจากต้องผ่านความเห็นชอบจากส่วนกลาง
    • มีความโปร่งใสน้อยกว่า Public Blockchain

Hybrid Blockchain

Hybrid Blockchain เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่นำเอารูปแบบการทำงานของเครือข่ายบล็อกเชนแบบปิดและแบบสาธารณะเข้ามาใช้ร่วมกัน โดยสามารถตั้งค่าระบบแบบปิดเพื่อใช้สิทธิ์ในการได้รับการอนุญาต ควบคู่กับระบบแบบเปิดได้ ซึ่งจะมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะ และเปิดให้สาธารณะเข้าถึงข้อมูลส่วนอื่น ๆ ได้ด้วย

  • ข้อดีของ Hybrid Blockchain
    • ปกป้องความเป็นส่วนตัว แต่ยังอนุญาตให้บุคคลที่สามสามารถเข้าถึงข้อมูลเปิดได้
    • มีความปลอดภัย
    • สามารถทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว และประหยัด
  • ข้อเสียของ Hybrid Blockchain
    • ไม่มีความโปร่งใสอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนถูกปิดเอาไว้
    • ไม่มีแรงจูงใจให้มีส่วนร่วมในเครือข่ายบล็อกเชนรูปแบบนี้

ความแตกต่างของบล็อกเชนแต่ละประเภท

 Public Blockchain Private Blockchain Consortium BlockchainHybrid Blockchain
ข้อดี
  • ความเป็นอิสระ
  • ความโปร่งใส
  • ความน่าเชื่อถือ
  • การเข้าถึงข้อมูล
  • ประสิทธิภาพในการทำงาน
  • การควบคุมการเข้าถึงการเข้าถึงข้อมูล
  • ความสามารถในการปรับขนาด
  • ความปลอดภัยในการใช้งาน
     
  • การควบคุมการเข้าถึงการเข้าถึงข้อมูล
  • ประสิทธิภาพในการทำงาน
  • ความสามารถในการปรับขนาด
     
ข้อเสีย
  • ประสิทธิภาพในการทำงาน
  • ความสามารถในการปรับขนาด
  • ความปลอดภัยในการใช้งาน
  • ความน่าเชื่อถือ
  • การตรวจสอบข้อมูล
     
  • ความโปร่งใส
  • ความโปร่งใส
  • การอัปเกรดเครือข่ายบล็อกเชน 
     
ตัวอย่างการใช้งาน
  • คริปโตเคอร์เรนซี
  • การตรวจสอบเอกสาร
  • ซัพพลายเชน
  • ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์
  • ธนาคาร
  • การวิจัย
  • ซัพพลายเชน
  • ข้อมูลทางการแพทย์
  • ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

หลังจากที่รู้กันแล้วว่า blockchain มีกี่ประเภท ทีนี้ การเลือกใช้งานบล็อกเชนนั้น ควรที่จะเลือกให้ตอบโจทย์และเหมาะสมกับความต้องการในการใช้งานขององค์กรเป็นหลัก เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน และช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและราบรื่นมากที่สุด

อ้างอิง
https://techsauce.co/tech-and-biz/three-different-types-of-blockchain
https://www.techtarget.com/searchcio/feature/What-are-the-4-different-types-of-blockchain-technology

scroll top iconBack to top